THE VIROLOGY ASSOCIATION (THAILAND) WORKSHOP 2023

วันที่ 10-13 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมานี้ สมาคมไวรัสวิทยา (ประเทศไทย) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยจีโนมจุลินทรีย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบัติ (Pornchai Matangkasombut Centr for Microbial Genomics – CENMIG), กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านจุลชีววิทยาเชิงระบบ (Center of Excellence in System Microbiology) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข (Thailand-U.S. CDC Collaboration, TUC) จัดการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการเรื่อง ”ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ต่อวงการวิจัยและสาธารณสุขด้านเชื้อไวรัสก่อโรคระบบทางเดินหายใจ: การวิเคราะห์พันธุกรรมของไวรัสไข้หวัดใหญ่ และ SAR-CoV-2 (The ripple effect of COVID-19 pandemic on respiratory virus research and healthcare: Genetic analysis of influenza viruses and SARS-CoV-2)”


การประชุมครั้งนี้ใช้เวลา 4 วัน แบ่งออกเป็นสองภาคส่วน ดังนี้

  • วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 เป็นการบรรยายตลอดทั้งวัน จัดขึ้นที่โรงแรม เอส ดี อเวนิว ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ คุณสมบัติของเชื้อ วิวัฒนาการ การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก และSARS-CoV-2 สถานการณ์ของโรคในปัจจุบัน การใช้ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการณ์เพื่อประกอบการสร้างแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน โดยมี รศ.ดร.ภากร เอี้ยวสกุล บรรยายในหัวข้อเรื่อง “Phylogenetics 101 – A quick detour to learn how to read a phylogeny”
  • วันที่ 11-13 กรกฎาคม 2566 เป็นการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการจัดขึ้นที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท ฝึกการปฏิบัติจริง เน้นการใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมต่างๆ ในการปฎิบัติการทางชีวสารสนเทศ (bioinformatics) โดยใช้สายจีโนมของ influenza viruses และ SARS-CoV-2 เป็นต้นแบบ
  • วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 ศ.ดร.สัญชัย พยุงภร บรรยายในการประชุม ในหัวข้อเรื่อง Retrieval of viral nucleotide sequences from databases, Molecular techniques for viral nucleic acid detection, Alignment of nucleotide sequences for in Silico evaluation of primers/ probes และ Primers & probes design ให้ความรู้พื้นฐานเพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถสืบค้นข้อมูลทางพันธุกรรมจากแหลงข้อมูลต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลลำดับนิคลิโอไทด์อย่างง่าย
  • วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 รศ.ดร.ภากร เอี้ยวสกุล บรรยายในการประชุมในหัวข้อเรื่อง “Phylogenetics and applications” ร่วมกับ สมาชิกศูนย์วิจัย CENMIG ผู้ช่วยสอนฝึกปฎิบัติการในหัวข้อเรื่อง “SARS-CoV-2 phylogenetic analysis” อธิบายถึงที่มาของข้อมูล ซึ่งเป็นลำดับนิวคลีโอไทด์ใน phylogenetic trees สามารถเข้าใจ อธิบาย และสร้าง phylogenetic trees อย่างง่าย
  • วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ศ.ดร.สัญชัย พยุงภร บรรยายในการประชุมในหัวข้อ Applications of next generation sequencing (NGS) for virologists (Practical issues in NGS sequencing, Sample preparation for NGS study, Gene sequencing methods,Viral genome, Virome), Sequence Read Archive (SRA) data, FASTQ data processing, Viral genome assembly พร้อมทั้ง อ.ดร.ธิดาทิพย์ วงศ์สุรวัฒน์ บรรยายในการประชุมในหัวข้อ CZ ID: free, cloud-based metagenomic platform for researchers, empowers global pathogen and outbreak detection and monitoring เนื้อหาเกี่ยวกับการตรวจหาลำดับนิวคลิโอไทด์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างทางพันธุกรรมโดยใช้เทคนิค NGS และสืบค้นเชื้อก่อโรคโดยใช้โปรแกรมต่างๆ ในการจัดการข้อมูลจำนวนมาก

การประชุมครั้งนี้ ให้ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของเชื้อ วิวัฒนาการ การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก และ SAR-CoV-2 สถานการณ์ของโรคในปัจจุบัน การใช้ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการเพื่อประกอบการสร้างแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน รวมทั้งฝึกปฏิบัติการจริงในการศึกษาชีวสารสนเทศ (bioinformatics) โดยใช้สายจีโนมของ influenza viruses และ SAR-CoV-2 เป็นต้นแบบในการศึกษา นอกจากนี้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทั้งผู้บรรยายและผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายองค์กร เพื่อสร้างความร่วมมือในอนาคตต่อไป

ผู้เขียน :  Admin